การก่อเกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ในปัจจุบัน ล้วนมาจากการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา คือ 1. การรวมตัวของสื่อ ในระยะ พ.ศ. 2493 - 2502 (ทศวรรษที่ 1950s) สื่อส่วนมากจะมีลักษณะเป็นเอกเทศ และมีลักษณะการใช้งานในรูปแบบที่แยกจากกันหรือบางครั้งอาจมีการนำมาใช้ในลักษณะ "สื่อประสม" เช่น การใช้สิ่งพิมพ์ร่วมกับเทปเสียง |
|
และเป็นที่คาดว่าในระยะ พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ถึงแม้ว่าสื่อเหล่านี้ จะยังคงมีลักษณะแยกได้เป็นเอกเทศเช่นเดิม แต่จะสามารถนำมารวมกันให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง และจะเป็นการยากที่จะแยกสื่อ ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อความออกจากกัน |
เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในช่วง พ.ศ. 2523 - 2532 จึงมีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ ในลักษณะของสื่อประสมเชิงโต้ตอบ (Interactive multimedia) เช่น การใช้วิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้ CD-ROM ในการสอน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และการใช้ความจริงเสมือน การบรรจบกันของสื่อต่าง ๆ โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นตัวสื่อประสานหรือเป็นตัวเชื่อมโยงจึงมีบทบาทอย่างยิ่ง
|
2. สื่อขนาดเล็ก จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการคิดค้นและพัฒนาทำให้วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ มีขนาดเล็กลง และใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น ดังเช่น |
|
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน นอกจากจะมีขนาดเล็กลงแล้ว ยังมีสมรรถนะในการทำงานที่สูงกว่าเดิม สามารถบรรจุเนื้อหา ข้อมูลได้มาก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูก | |
4. ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม จานรับสัญญาณดาวเทียมที่มีขนาดเล็ก และเส้นใยนำแสงที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงในระบบดิจิตัลได้อย่างรวดเร็วและในระยะทางไกลมาก ทำให้สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างบ้านเรือน สถาบันการศึกษา ห้องสมุด สำนักงานต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี | |
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) นับเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป และวงการ สถาบันต่าง ๆ เช่น การแพทย์ การกีฬา วัฒนธรรม การศึกษา เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่รวมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบโทรคมนาคมการสื่อสารความเร็วสูงเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล จึงสามารถประมวลผลข้อมูล จัดเก็บและบันทึกสารสนเทศ และส่งข้อมูลหรือผลลัพท์ที่ประมวลได้ไปยังผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ในวงการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทและสามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ วิธีการ เช่น |
|
6. อินเทอร์เน็ต และเวิลด์ไวด์เว็บ (Internet & World Wide Web : www) ข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมไปทั่วโลก ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลได้ทันทีที่ต้องการไม่ว่าจะอยู่แห่งใดในโลก โครงข่ายใยแมงมุมนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยในการค้นหาสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ระบบเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ตจะสร้างการเชื่อมโยงระหว่างแหล่งข้อมูลทั่วโลก ช่วยให้เราสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว | |
7. ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) เป็นการนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง เช่น เส้นใยนำแสง เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถรับข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทางด่วนสารสนเทศให้ประโยชน์อย่างเอนกนานับปการหลายด้าน เช่น - ทำให้ทุกคนมีโรงเรียนที่ดี ครูที่มีความสามารถ และวิชาเรียนที่น่าสนใจสำหรับผู้เรียนทุกคน ไม่จำกัดวัยและสภาพ - นำข้อมูลจากห้องสมุดทั่วโลกมาใช้ในการเรียนและการวิจัยได้อย่างรวดเร็ว - จัดประชุมทางไกลโดยเห็นภาพ และได้ยินเสียงของผู้เข้าประชุมทั่วโลกได้ - ใช้ในการรักษาทางไกล โดยแพทย์สามารถวินิจฉัย หรือให้คำปรึกษาได้จากภาพ และการได้ยินเสียงผู้ป่วย - สามารถทำงานที่บ้านได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยังที่ทำงาน - สามารถซื้อสินค้า โอนเงินเข้าธนาคาร เล่นเกมส์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง |
|
8. การบันทึกความจำด้วยแสง (Optical memory) ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดี - รอมได้อย่างมากมายมหาศาล เช่น แผ่นซีดี - รอม 1 แผ่น อาจจะบรรจุสารานุกรม หรือพจนานุกรมทั้งเล่ม หรือบรรจุหนังสืออ่านประกอบได้จำนวน 1,000 เล่ม ในราคาที่ถูก เก็บรักษาได้ง่าย ชำรุดเสียหายยาก อีกทั้งสะดวกในการพกพาไปใช้งานในสถานที่ต่าง ๆ | |
http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm
http://senarak.tripod.com/indexsimple.htm
http://edu.nstru.ac.th/webedu/public/read.php?id=11
http://www.cie.th.edu/web2/CIE@DOME/CIE@DOME_01/Special.htm
http://area.obec.go.th/rayong1/kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=414
http://www.drrung.com/article/page_articles23.html
http://www.eschool.su.ac.th/admin/articleadm.php?no=17&code=y
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม ISBN 974-346-173-6
Home I e - learning I e - library I Photo Gallery I Index