กระบวนการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน และพฤติกรรมการเรียนรู้ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. การเรียนรู้ด้านสติปัญญา แบ่งออกเป็น 5 ระดับ
1. ความรู้ (knowledge) ได้แก่ ความสามารถของผู้เรียน การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร วิชาการเทคโนโลยีที่ถ่ายทอด
2. ความเข้าใจ (comprehension) หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการขยายความรู้ออกไปอย่างสมเหตุสมผลที่เป็นการอธิบายขยายความ
3. การวิเคราะห์ (analysis) หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการจำแยกแยะเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ออกเป็นส่วนประกอบย่อย ๆ ที่สัมพันธ์กันได้เพื่อทำความเข้าใจในรายละเอียด
4. การสังเคราะห์ (synthesis) หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการรวบรวมเอาแต่ละส่วนย่อย ๆ ของเนื้อหา รวมเข้าเป็นหมวดหมู่ของกลุ่มเนื้อหาเดียวกันให้เป็นความรู้เรื่องใหม่
5. การประเมินค่า (evaluation) หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการตัดสินใจคุณค่าของเนื้อหาที่ได้รับการเรียนรู้และได้ผ่านการวิเคราะห์แล้ว
2. การเรียนรู้ทางด้านจิตใจ (affective domain) เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในด้าน ความเชื่อ เจตคติ และความรู้สึก ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในแต่ละบุคคล ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
1. การรับรู้ (receiving) ผู้เรียนได้รับรู้ว่าสิ่งที่เรียนคืออะไรพร้อมทั้งเข้าใจถึงลักษณะเด่นที่สำคัญของสิ่งนั้นด้วย
2. การตอบสนอง (responding) ผู้เรียนได้ตอบสนองหรือทำตามในสิ่งที่รับรู้
3. การสร้างค่านิยม (valuing) ผู้เรียนได้ให้ความเชื่อถือกับสิ่งที่รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งนั้น มากกว่าสิ่งอื่น ๆ
4. การจัดระเบียบ (organizing) ผู้เรียนได้รวบรวมค่านิยมต่อสิ่งนั้นให้เป็นระบบ จัดลำดับความสัมพันธ์ ตัดสินใจได้ว่าค่านิยมอะไรสำคัญหรือมีบทบาทมากทีสุด
5. การพัฒนาคุณลักษณะจากค่านิยม ผู้เรียนได้ตัดสินใจพัฒนาพฤติกรรม คุณสมบัติ และคุณลักษณะ โดยหลักยึดค่านิยมที่ให้ความสำคัญ
3. การเรียนรู้ทางด้านทักษะทางกาย (psychomotor domain) ที่ต้องมีการฝึกฝนให้เกิดทักษะความชำนาญและสามารถกระทำสิ่งนั้นได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ
http://www7.brinkster.com/prachyanun/artical/artical12.html
http://agserver.kku.ac.th/e-learning/116321/E-Learning116321/chapter6.4.htm
http://www.nfe.go.th/042103/librarian/module/module3.html
http://wbc.msu.ac.th/wbc/edu/0506714/Unit_3/Unit_3_4.htm
http://www.mc41.com/database/childcenter.htm
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง : เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม
ISBN 974-346-173-6
Home I e - learning I e - library I Photo Gallery I Index