การพัฒนาการใช้สื่อการเรียนรู้

         ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จนั้น ครูผู้สอนจะต้องทำการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อม ๆ ไปกับการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้ ซึ่งแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ มีดังต่อไปนี้
         1.. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ เนื้อหา
         2. วิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา
         3. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ควรพิจารณาลักษณะของกิจกรรม ดังต่อไปนี้
             1. ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติอย่างตื่นตัว
             2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
             3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดแก้ปัญหา หรือพัฒนาชิ้นงาน หรือ โครงการ
             4. ต้องคำนึงให้ผู้เรียนร่วมเรียนรู้ หรือทำงานเป็นกลุ่ม
         4. วิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้น ว่าจะต้องใช้สื่อการเรียนรู้ประเภทใดที่ช่วยสร้างความเข้าใจในความคิดรวบยอดนั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเน้นกิจกรรมที่ผ่านกระบวนการที่ผู้เรียนต้องลงมือค้นหาคำตอบ ทำความเข้าใจด้วยตนเอง หรือสะท้อนการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
         5. จัดเตรียม สื่อการเรียนรู้ อาจจะผลิตขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงจากของเดิม อาจอยู่ในรูปของ
             1. ชุดการทดลอง
             2. ชุดกิจกรรม
             3. สิ่งตีพิมพ์ เช่น เอกสาร ตำรา วารสาร
             4. เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เช่น อินเตอร์เนต E-Learning มัลติมีเดีย Web-based learning
             5. แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
             6. แหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
         6. นำไปใช้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ เช่น
             1. ผู้เรียน
             2. ครูผู้สอน
             3. สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
         7. ประเมินผลสื่อ โดยพิจารณาจาก
             1. ประเมินผลผลิต คือ ประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อ และด้านประเมินผล
             2. ประเมินบริบทการใช้ เพื่อหาบริบทที่เหมาะสมในการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพจริง เช่น การจัดจำนวนสมาชิกในกลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในกิจกรรมการแก้ปัญหาที่ใช้ Web-based learning
             3. ประเมินด้านความคิดเห็น เจตคติที่มีต่อการเรียนจากสื่อการเรียนรู้
             4. ประเมินด้านความสามารถ (Performance) ของผู้เรียน ความสามารถของผู้เรียนประเมินได้จากการกระทำที่แสดงออกโดยตรงจากการทำงานด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น สถานการณ์ที่กำหนดให ที่เป็นสภาพจริงหรือใกล้เคียงกับสภาพจริง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ปัญหา หรือปฏิบัติงานจริง อาจประเมินได้จาก กระบวนการทำงาน กระบวนการคิด (Cognitive process) โดยเฉพาะการคิดในระดับสูง (higher-order thinking) ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดวิพากษ์วิจารณ์ การคิดแบบสร้างสรรค์ การคิดเชิงเหตุผล เป็นต้น นอกจากนี้อาจประเมินเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน เช่น กระบวนการการแก้ปัญหา
             5. ประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง : เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม
ISBN 974-346-173-6


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Home I e - learning I e - library I Photo Gallery I Index