A | nalyze Learner Characteristics |
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน |
|
---|---|---|---|
S | tate Objectives |
การกำหนดวัตถุประสงค์ |
|
S | elect , Modify or Design Materials |
การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่ |
|
U | tilize Materials |
การใช้สื่อ |
|
R | equire Learner Response |
การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน |
|
E | valuation |
การประเมินการใช้สื่อ |
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน (Analyze Learner Characteristics) เพื่อเลือกสื่อให้สัมพันธ์กับลักษณะของผู้เรียน เช่น
1. ลักษณะทั่วไป เช่น อายุ ระดับความรู้ สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน
2. ลักษณะเฉพาะ เช่น ทักษะที่มีมาก่อน (prerequitsite skills) ทักษะเป้าหมาย (targer skills) ทักษะในการเรียน (study skills) ทัศนคติ (attitude)
การกำหนดวัตถุประสงค์ (State Objective) เพื่อสะดวกในการเลือกสื่อและวิธีการที่ถูกต้อง ตลอดจนการจัดลำดับกิจกรรมการเรียน และสร้างสิ่งแวดล้อม หรือประสบการณ์การเรียนรู้ การประเมินผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง
ช่วยให้ผู้เรียนทราบถึงผลแห่งการเรียนรู้และผลแห่งการกระทำหลังจากเสร็จสิ้นบทเรียนแล้ว
ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์ ควรประกอบด้วย
1. การกระทำ (performance) เป็นสิ่งที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถกระทำได้ภายหลังจบบทเรียนแล้ว
2. เงื่อนไข (conditions) เป็นข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่ตั้งขึ้นโดยรวมอยู่ภายใต้การกระทำ
3. เกณฑ์ (criteria) เพื่อการตัดสินการกระทำนั้นว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่
การกำหนดวัตถุประสงค์เป็น "วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม" แบ่งออกเป็น
1. พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ สติปัญญา และการพัฒนา
2. จิตตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมและการเสริมสร้างทางปัญญา
3. ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออกหรือการปฏิบัติ
การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อ (Select , Modify or Design Materials)
1. เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว
2. ดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
3. การออกแบบสื่อใหม่
การใช้สื่อ (Ulilize Materials)
ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านั้นก่อนเป็นการเตรียมตัว จัดเตรียมสถานที่ เตรียมตัวผู้เรียน ควบคุมชั้นเรียน
การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (Require Learner Response)
1. การตอบสนองโดยเปิดเผย (overt response) โดยการพูดหรือเขียน
2. การตอบสนองภายในตัวผู้เรียน (covert response) โดยการท่องจำหรือคิดในใจ
เมื่อมีการตอบสนองแล้วผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันทีเพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ ที่ถูกต้องหรือไม่
การประเมิน (Evaluation)
1. การประเมินกระบวนการสอน ซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งในระยะก่อน ระหว่างและหลังการสอน
2. การประเมินความสำเร็จของผู้เรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. การประเมินสื่อและวิธีการสอน โดยให้ผู้เรียนมีการอภิปราย และวิจารณ์การใช้สื่อ และเทคนิคการสอนว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง : เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม ISBN 974-346-173-6
Home I e - learning I e - library I Photo Gallery I Index